โรงสีชุมชน
จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.
๒๕๕๓
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากปกครองอำเภอน้ำเกลี้ยง(งบ SML) มีคณะกรรมการบริหารงาน จำนวน ๙
คน
บริหารจัดการโดยจัดให้มีคณะกรรมการรับผิดชอบเรื่องสีข้าวสัปดาห์ละ ๕
วัน หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ รายได้ได้มาจากการขายรำ ข้าวปลาย แกลบ
ปัจจุบันมีเงินทุน ๕๗,๐๐๐ บาท
_____________________________________________________________________
กลุ่มจักสานพลาสติก (OTOP)
มีการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มจักสานพลาสติก
และขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ เมื่อปี ๒๕๕๒ มีสมาชิกจำนวน
๑๖ คน มีคณะกรรมการบริหารงาน จำนวน
๙ คน ผลิตสินค้าจำหน่ายในงานเทศการต่างๆที่อำเภอ จังหวัดจัดขึ้น
และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข่น
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอน้ำเกลี้ยง กศน.อำเภอน้ำเกลี้ยง
คณะกรรมการกลุ่มฯได้รับการตัดเลือกเป็นวิทยากรถ่ายทอดเลือกการจักสานพลาสติก มีการส่งสินค้าเข้าคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี ๒๕๕๙
___________________________________________________________________________
การเพาะเห็ดฟาง
ประมาณเดือน พฤศจิกายน
๒๕๕๘
คนในชุมชนได้มีโอกาสไปศึกษาการเพาะเห็ดฟางจากแหล่งเรียนรู้ที่บ้านจำหนัก อำเภอสำโรง
จังหวัดอุบลราชธานี
เนื่องคนในชุมชนบ้านเกษตรสมบูรณ์
ทำสวนยางพารากันมาก จากสภาวะเศรษฐกิจราคายางพาราตกต่ำ
จึงมีแนวคิดที่เพาะเห็ดฟางในสวนยางพารา
มีการทดลองเพาะเห็ดฟาง เริ่มแรก ๒
ครัวเรือน
และเริ่มมีการขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆ
อีก ปัจจุบันมีจำนวน ๑๓
ครัวเรือน ๔๕ โรงเรือน
สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี
และสามามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕,๐๐๐
บาท/เดือน ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความสนใจ และมีคณะศึกษาดูงานได้มาศึกษาดูงาน เช่น
คณะ กศน. จากจังหวัดมุกดาหาร การถ่ายทำ “รายการคนเปลี่ยนโลก” จากสื่อของช่อง ๕ ที่กระทรวงมหาดไทยประสานงานมา
______________________________________________________________
ประปาหมู่บ้าน
คณะกรรมการบริหารงาน
จำนวน ๑๒
คน สมาชิก ๓๑ คน
บริหารจัดการโดยให้สมาชิก ค่าสมัคร ๕๐ บาท
ค่าหุ้นๆละ ๑๐ บาท ค่ามิเตอร์น้ำหน่วยละ ๔ บาท
ปัจจุบันมีเงินทุน ๓๖,๐๐๐ บาท
_____________________________________________________________
กองทุนแม่ของแผ่นดิน
บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่
๙ ตำบลเขิน
อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
การก่อเกิด
กองทุนแม่ของแผ่นดิน
มีจุดเริ่มต้นจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์
พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ผ่านเลขาธิการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ได้จัดสรรงบประมาณสมทบจัดตั้งกองทุนมอบให้หมู่บ้านที่มีการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดหมู่บ้านละ ๘,๐๐๐
บาท เรียกว่า
“กองทุนแม่ของแผ่นดิน” หมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่
๙ ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับพระราชทานเงินขวัญถุง ปี
๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหารงาน ๑๑ คน สมาชิก
๓๕ คน
ปัจจุบันมีเงินทุนกองทุนแม่ของแผ่นดินทั้งสิ้น ๒๓,๗๗๘
บาท
ดีข้อมูลครบ
ตอบลบ