การเพาะเห็ดฟาง


     เห็ดฟางสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเกษตรสมบูรณ์ แทนรายได้จากยางพารา ที่ราคาตกต่ำ

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนจากกากเปลือกมันสำปะหลัง   
          การเพาะเห็ดฟางจากกเปลือกมันสำปะหลังจะทำให้ได้เห็ดฟางดอกใหญ่  ทำได้ตลอดปี                ดิฉันมีโอกาสนำผู้สื่อข่าวไปถ่ายทำสารคดีเกษตรกรการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน ของคุณลุงวิเศษ  พิรมย์ไทย  ที่บ้านเลขที่ 58/2 หมู่ 9 บ้านทุ่งเศรษฐี  ตำบลนครชุม  อำเภอเมือง  จ.กำแพงเพชร                    ปกติ การเพาะเห็ดฟางส่วนใหญ่จะเพาะกลางแจ้งและวัสดุที่ใช้กันเป็นหลักจะใช้ฟาง ข้าวแต่ในปัจจุบันมีการนำวัสดุการเกษตรที่เหลือใช้เช่นกากเปลือกมันสำปะหลัง มาใช้ซึ่งได้ผลดีเพราะเห็ดฟางที่เพาะได้ดอกโตและเก็บได้นาน และเห็ดฟางในโรงเรือนสามารถเพาะได้ตลอดปี  คุณลุงวิเศษ เล่าให้ฟังว่าตัวเองเป็นคนจังหวัดชัยภูมิแต่เดิมเพาะเห็ดฟางอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิแต่ราคาเห็ดฟางที่นั่นต่ำราคา 30-40  บาท/กก.จึงย้ายมาเพาะที่จังหวัดอุทัย แต่ตลาดยังไม่กว้างมากนักจึงย้ายตามตลาดมาจังหวัดกำแพงเพชรเป็นแหล่งที่มี ความต้องการเห็ดฟางมากเห็ดฟางที่เพาะได้ภายในจังหวัดกำแพงเพชรยังไม่เพียงพอ ต้องสั่งซื้อจากจังหวัดชัยภูมิ เชียงใหม่   คุณลุงจึงเลือกมาเพาะเห็ดในจังหวัดกำแพงเพชร   ปัจจุบันมีโรงเรือนอยู่12โรงกำลังสร้างใหม่อีก 3 โรง  ในแต่ละวันเก็บได้ประมาณ 100-150 กิโลกรัม  จำหน่ายกิโลกรัม50-60  บาท
          
           

      วัสดุทีใช้เพาะ   ได้แก่  กากเปลือกมันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันเส้น    ฟางข้าว   ขี้วัว
แป้งข้าวเหนียว    โมลาส    จุลินทรีย์อีเอ็ม  ภูไมท์   ปุ๋ยสูตร 46-0-0   ,15-15-15   รำอ่อน   อัตราส่วนกากเปลือกมันสำปะหลัง  1 ตันต่อวัสดุชนิดอื่นๆชนิดละ1กิโลกรัม   หมักทิ้งไว้ 1 อาทิตย์
         <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                 ทำความสะอาดโรงเรือนโดยการฉีดน้ำล้างโรงเรือนแล้วนำฟางวางไว้ตามชั้นให้มีความหนาประมาณ 10 ซม.และนำวัสดุที่หมักครบ7 วันไปวางไว้ความหนาประมาณ 10 ซม. แล้วรดน้ำ ใช้ผ้ายางปิดไว้ 1-2 วัน ห้ามเปิด  ใช้เตาอบไอน้ำท่อยัดไอน้ำเข้าไป 3 ซม.  ความร้อน 60 -70 องศาเซลเซียส  เป็นการเชื้อโรคตาย  3 วันวันที่ 4 ปล่อยให้อากาศถ่ายเทแล้วจึงหว่านเชื้อเห็ดฟางบนชั้น  หลังจากนั้น3 วันรดน้ำ เปิดช่องลมไว้อีก 3 วัน   จึงจะเริ่มเห็นเห็ดเป็นตุ่มๆหลังจากนั้น 7 วันสามารถเก็บเห็ดไปจำหน่ายได้สามารถเก็บเห็ดได้นาน 7-15 วันหลังจากเก็บครั้งแรก </p>
 100_8413                          
                                     1  โรงเรือนเก็บได้ประมาณ150-230 กก/โรง/วัสดุ 3 ตัน  รายได้เฉลี่ยเดือนละ40,000-50,000  บาท  ต้นทุนการผลิตอยู่ประมาณ   25,000  บาท   โรงเรือนสร้าง 1 ครั้งสามารถอยู่ได้นาน 3 ปีต้นทุนต่อโรงเรือน 15,000  บาท   การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร  การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนสามาถทำได้ตลอดปีในฤดูร้อนต้องใช้พัดลมช่วย 
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/162712
                                  การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนจากกากเปลือกมันสำปะหลัง

            การเพาะเห็ดฟางจากกเปลือกมันสำปะหลังจะทำให้ได้เห็ดฟางดอกใหญ่  
ทำได้ตลอดปี  ชาวบ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 9 ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ได้พริกวิกฤตเป็นโอกาศในขณะที่ราคายางพาราตกต่ำ ได้เรียนรู้จากสื่อสังคมออนไลน์ มาปรับใช้โดยเฉพาะได้ผ่านเวทีสร้างความเข้าใจของการดำเนินงานหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของอำเภอน้ำเกลี้ยง เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ก็เริ่มมีการดำเนินการใต้ร่มไม้ยางพารากว่า 100 ไร่ สร้างรายได้เป็กอบเป็นกำให้ชาวบ้านอย่างน่าอัศจจรย์ ซึ่งปกติการเพาะเห็ดฟางส่วนใหญ่จะเพาะกลางแจ้งและวัสดุที่ใช้กันเป็นหลักจะใช้ฟางข้าวแต่ในปัจจุบันมีการนำวัสดุการเกษตรที่เหลือใช้เช่นกากเปลือกมันสำปะหลังมาใช้  และได้ผลดีเพราะเห็ดฟางที่เพาะได้ดอกโตและเก็บได้นาน และเห็ดฟางในโรงเรือนสามารถเพาะได้ตลอดปี นายสมบูรณ์ ทองเต็ม ผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ ร่วมกับชาวบ้านได้ชวนกันเพาะเห็ดฟางสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน ปัจจุบันมีโรงเรือนมากกว่า 10 โรง กำลังสร้างใหม่อีกมากกว่า 5 โรง  ในแต่ละวันเก็บได้ประมาณ 100-150 กิโลกรัม การจำหน่ายขายส่งกิโลกรัมละ 60 บาท และขายปรีกราคากิโลกรัมละ 70 บาท มีพ่อค้าแม่ค้าจากตลาดอำเภอกันทรารมย์ และอำเภอกันทรลักษ์ มารับถึงสวน

 วัสดุทีใช้เพาะ   ได้แก่  กากเปลือกมันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันเส้น ฟางข้าว  ขี้วัว แป้งข้าวเหนียว โมลาส จุลินทรีย์อีเอ็ม ภูไมท์ ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ,15-15-15 รำอ่อน อัตราส่วนกากเปลือกมันสำปะหลัง 1 ตันต่อวัสดุชนิดอื่นๆชนิดละ1กิโลกรัม หมักทิ้งไว้ 1 อาทิตย์
                         ทำความสะอาดโรงเรือนโดยการฉีดน้ำล้างโรงเรือนแล้วนำฟางวางไว้ตามชั้นให้มีความหนาประมาณ 10 ซม.และนำวัสดุที่หมักครบ7 วันไปวางไว้ความหนาประมาณ 10 ซม. แล้วรดน้ำ ใช้ผ้ายางปิดไว้ 1-2 วัน ห้ามเปิด  ใช้เตาอบไอน้ำท่อยัดไอน้ำเข้าไป 3 ซม.  ความร้อน 60 -70 องศาเซลเซียส  เป็นการเชื้อโรคตาย  3 วันวันที่ 4 ปล่อยให้อากาศถ่ายเทแล้วจึงหว่านเชื้อเห็ดฟางบนชั้น  หลังจากนั้น3 วันรดน้ำ เปิดช่องลมไว้อีก 3 วัน   จึงจะเริ่มเห็นเห็ดเป็นตุ่มๆหลังจากนั้น 7 วันสามารถเก็บเห็ดไปจำหน่ายได้สามารถเก็บเห็ดได้นาน 7-15 วันหลังจากเก็บครั้งแรก                         
                                     1  โรงเรือนเก็บได้ประมาณ150-230 กก/โรง/วัสดุ 3 ตัน  รายได้เฉลี่ยเดือนละ40,000-50,000  บาท  ต้นทุนการผลิตอยู่ประมาณ   25,000  บาท   โรงเรือนสร้าง 1 ครั้งสามารถอยู่ได้นาน 3 ปีต้นทุนต่อโรงเรือน 15,000  บาท   การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร  การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนสามาถทำได้ตลอดปีในฤดูร้อนต้องใช้พัดลมช่วย 

ท่านกานต์ ธงศรี พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ เยี่ยมชมสวนเห็ดฟาง


เห็ดฟางดอกใหญ่ๆ โตๆ น่ารับประทาน

2 ความคิดเห็น: